วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

วีดีโอการประกวดปลาหมอสี


วีดีโอการเพาะพันธุ์



อ้างอิงมาจาก  http://www.youtube.com/watch?v=lLqFqML1QA0

อาหารปลาหมอสี อาหารสด และ อาหารเม็ด


อาหาร ปลาหมอสี อาหารสด และ อาหารเม็ด
อาหารสด
1.ขนาดเท่าหัวตาปูจนถึงเหรียญสลึงให้ไรน้ำจืด วันละ 2-3 ครั้งอย่าเยอะมาก กะว่ากินหมดใน 5 นาที ถ้าเหลือให้ตักออกทันที แล้วครั้งต่อไปใส่ปริมาณลดลง2.ขนาดเหรียญสลึงถึงขนาดนิ้วชี้บวกนิ้วกลางให้ไรทะเล วันละ 2 ครั้ง อย่าโลภเน้นให้ไม่เยอะ ให้ถี่ๆ และคุณภาพของน้ำผ่านการกรองดีเยี่ยมปลาจะโตทันตาเห็น3.ขนาดนิ้วชี้บวกนิ้วกลางให้กุ้งฝอยแบบเป็นๆ ได้เลย วันละครั้งก็พอระยะแรกคัดกุ้งตัวเล็กหน่อย มันจะฟาดเหลือบ้างไม่เป็นไร กุ้งจะอยู่เป็นเพื่อนชั่วเวลาหนึ่งที่ปลายังอิ่มท้องอยู่ ตอนนี้แหละที่สีกับโหนกจะเริ่มขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับกรรมพันธุ์ที่เขาได้รับถ่ายทอดมาด้วย หากซื้อกุ้งฝอยแบบกินหมดเป็นวันๆ ไม่ได้ ซื้อตุนเอาไว้ ขยันหน่อยก็หักกรีออก โยนเข้าช่องแช่แข็ง พอถึงเวลาก็แบ่งออกมาแช่น้ำให้น้ำแข็งละลายก่อนโยนกุ้งให้กิน โตวันโตคืนครับ



 อาหารเม็ด ปลาหมอสี เกรดดีๆ ที่นิยม เลี้ยงปลาหมอสี มีดังต่อไปนี้ ( อาหารเม็ด สำหรับ ปลาหมอสี จะมี แต่ละขนาด คือ S ขนาด ปลาหมอสีเล็ก L ขนาดสำหรับ ปลาหมอสีใหญ่ เวลาซื้อสังเกต ที่ ซอง หรือ ขวดด้วยน่ะครับ )* XO * Haifeng * Hitech * Okiko * Lar-max * cyclop ปกติหาก เลี้ยงปลา เยอะๆ หรือปลาที่ยังไม่ได้ฟอร์ม ก็ใช้อาหารพวกเกรด ต่ำๆลงมาหน่อยเช่น * Quick * TOP * Kanshou * Probeta * Sakura* CPหรือบางคนให้กินพวกไฮเกร์ด พอเอาฟอร์มหรือคัดปลาสวยๆแล้วค่อยให้กินเกรดดีๆครับความแตกต่างระหว่างอาหารปลาแต่ละเกรด ก็คือคุณภาพของโปรตีน ปริมาณวิตามิน ครับ

โรคท้องบวม ของ ปลาหมอสี และ การรักษา โรคท้องบวม


โรคท้องบวม อาการ และ การรักษา โรคท้องบวม
 โรคท้องบวม ของ ปลาหมอสีอาการโรค ดังกล่าว เป็นโรค ที่ ยอดฮิต ของ คนเลี้ยงปลาหมอสี พอสมควร จะมีอาการบวม ที่ท้อง ของ ปลาหมอสี และ สาเหตุ ของการ บวม ดังกล่าวจะทำให้ปลา ลอยตัว ทรงตัวไม่ได้ หัวจะทิ่มลง ตู้ ส่วนหางจะชี้ ขึ้นด้านบน เห็นแล้ว น่าสงสาร เจ้าหมอสี ครับ อยาก ว่ายน้ำ แต่ กลับ ตัวฟู ทรงตัวไม่ได้ เนื่องจาก ภายในท้อง มีลม



การสังเกต ปลาท้องบวม ให้ สังเกตุจากก่อนให้อาหารและหลังให้และลองงดอาหารดูก็ยังบวมจะรักษา อาการของโรคท้องบวม เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย ที่เจริญเติบโต ในท้องปลาการรักษา อาการท้องบวม ของ ปลาหมอสี ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิเตตร้าไซคลิน เตตร้าไซคลิน ผสมลงในน้ำที่เลี้ยงในอัตรา 10-20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือจะใช้ เกลือแกง 0.5-1 เปอร์เซ็นต์แช่ปลาไว้ (0.5-10 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) แช่ปลาไว้นาน 30-60 นาที ควรทำเช่นนี้ประมาณ 2-3 ครั้ง ปลาจะค่อย ๆดีขึ้นครับหรือ ใช้ยา SUPER D ดี ( หมอหนึ่ง ) ยารักษาปลาหมอสี ที่มีอาการ ท้องบวม โดยฉีด เข้าทางปาก หากไม่หาย แนะนำปรึกษา ศูนย์วิจัยสภาพสัตว์น้ำ หรือ คลีนิกปลา ได้ที่ เบอร์โทร. 02-579-4122 โรคท้องบวม ปลาหมอสีโรคท้องบวมในปลาหมอสี Crossbreed ที่ผมพอจะสามารถหาข้อมูลมาได้หลักๆมี 2 กรณีนี้นะครับ1. กรณีที่หนึ่งเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ก็คือ เกิดจากโรคขี้ขาว ทำให้เกิดการอักเสบของลำไส้ จนทำให้เกิดการบวมของลำไส้ จากภายนอกเราจะพบว่า มีอาการบวมของท้องเกิดขึ้น2. กรณีที่เกิดจากความผิดปกติของตับและไต ทำให้เกิดการคั่งน้ำภายในช่องท้องเกิดขึ้นขอสังเกตในการแยก สองกรณีนี้กรณีที่เกิดจากระบบลำไส้ที่มีความผิดปกติ โดยส่วนใหญ่จะพบว่า อาการขี้ขาว ร่วมด้วยเสมอ และมีการเบื่ออาหาร กรณีที่สอง จะไม่พบอากาiขี้ขาว ปลาหลายๆตัวจะมีอาการที่ค่อยข้างปกติ คือ กินอาหารได้ตามปกติ นอกเสียจากกรณีที่เป็นจนระยะท้ายๆ ปลาจะเริ่มมีอาการตัวซีด เกล็ดตั้งยก (เหมือนมีอาการบวมน้ำแทรกตามเกล็ด)การรักษา (ในแบบของผมนะครับ)กรณีที่เกิดจากลำไส้ สามารถรักษาได้เหมือนกรณี ขี้ขาว คือ โดยการป้อนยาทางปากเพื่อให้ตัวยาผ่านระบบทางเดินอาหาร ใช้ ยา Clear ป้อนติดต่อกัน 5-10 วัน ซึ่งกรณีนี้จะหายได้ยากกว่า การเป็นขี้ขาว ขี้เป็นวุ้น โดยไม่มีการเกิดท้องบวม กรณีที่สอง เราจำเป็นต้องทำการขับน้ำ ร่วมถึงการให้ยาป้องกันการติดเชื้อ ร่วมถึงวิตามในการบำรุงตับและไต ผมเลือกใช้ super D ป้อนเข้าปากติดต่อกัน 5 วันครับ การป้องกัน โรคท้องบวม ปลาหมอสี กรณีแรก ที่เกิดจากลำไส้อักเสบ เราสามารถป้องกัน เช่นเดียวการป้องกันการเกิดโรคขี้ขาว กรณีที่สอง สาเหตุ อาจจะเกิดจากเรื่องสายพันธุ์ หรือ เรื่องของอาหาร แนะนำ ให้มีการสลับ การให้อาหาร สดและเม็ด อย่าให้แต่อาหารเม็ด ตลอดเวลา นั่นแสดงว่า ต้องให้ อาหาร สลับกันไป







ปลาหมอสี ตัวเมีย - การดูเพศ ปลาหมอสี ตัวเมีย


ปลาหมอสี ตัวเมีย - การดูเพศปลาตัวเมีย


วีธีการดู ปลาหมอสี ตัวเมืย จากลักษณะปลาตัวเมีย ส่วนใหญ่ช่วงหัวจะมีลักษณะลาด ๆ หรือที่เขาเรียกกันว่า หัวสันขวานครับ ( ก็หัวไม่โหนกนั้นแหล่ะครับ ) แต่ใช่ว่าที่หัวโหนกเหมือนตัวผู้จะไม่มีนะครับ แต่หายากมากๆเลยครับ วิธีดูแบบนี้มันก็ยังมีโอกาสผิดพลาดได้มากเหมือนกัน, วิธีการดูจุดดำ ๆที่กระโดงหลังของ ปลาหมอสี ตัวเมืย เป็นวีธีที่ส่วนมากเขาจะดูกันก็ คือ การดูที่กระโดงหลังของปลา ถ้าเป็นตัวเมียจะต้องมีจุดดำ ๆ ขึ้นที่ครีบหลังครับ หากดูที่ครีบหลังแล้วเห็นจุดดำ ๆ ให้มั่นใจได้เลยครับว่าประมาณ 90% เป็นตัวเมีย ( วิธีนี้จะชัวร์การดูที่ลักษณะหัวของปลาครับ )และในการเลือกซื้อปลาจะใช้วีธีนี้ในการเลือกซื้อปลามากที่สุดครับ อีก วิธีการดูที่ชัดและถูกต้องที่สุดต้องดูที่ ท่อนำไข่ ปลาหมอสี ตัวเมืย ครับ ( ปลาตัวผู้จะมีอวัยวะเพศทีมีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ แหลม ๆ งอ ๆ ทีเรียกกันว่า ท่อน้ำเชื้อ และอยู่ใกล้กับรูทวาร ครับ ) สำหรับปลาตัวเมีย อวัยวะเพศของปลาตัวเมีย จะมีลักษณะเป็นท่อทู่ ๆหนา ๆใหญ่ ๆยิ่งเมื่อพร้อมจะวางไข่เต็มที่ ยิ่งโผล่มาให้เห็นชัดมากเลยครับ และเมื่อตัวเมียถึงวัยเจริญพันธุ์ที่พร้อมจะวางไข่ อาการจะเห็นชัดเจนอย่างแรกเลยนะครับ คือ จะมีการทำความสะอาดพื้นที่ ที่จะว่างไข่ และตามลำตัวตัวจะมีสีออกดำ ๆ คล้ำ ๆ ทะมึน ๆ กว่าปกติ และมีแถบแนวสีดำ ตั้งฉากกับลำตัวขึ้นมาให้เห็นชัดเจนมากครับ อาการแบบนี้เรียกว่า ปลาฮีท ครับ ( ถ้าเป็นคนที่ตั้งท้องจะมีอารมณ์ที่ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายครับ ) และจะมีอารมณ์ที่ ดุร้ายมากเลยครับ และถ้าตัวเมียมีอาการแบบนี้แล้วมีท่อทู่ ๆ ใหญ่ ๆโผล่ออกมาด้วยรับรองได้เลยครับว่าตัวเมียแน่นอน 100% และพร้อมที่จะผสมพันธุ์แล้วครับ

อ้างอิงมาจาก  http://flowerhorncrossbreedfish.blogspot.com/2010/10/2553.html

ภาพปลาหมอสีสวยๆๆงานปลาสวยงามแห่งชาติ


 

ภาพปลาหมอสี สวย ๆ งานปลาสวยงามแห่งชาติ ปี 2553 National Ornamental Fish Day Bangkok Thailand on 2- 10 October 2010
วันนี้ เป็นวันแรก ที่เปิดงาน เลยถือโอกาส เก็บภาพ ปลาหมอสี สวย ๆ งาม ๆ ประมวลภาพ ปลาหมอสี ต่าง ๆ ใน งาน ปลาสวยงามแห่งชาติ ที่ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ที่ได้จัดขึ้น ใน ระหว่าง วันที่ 2-10 ตุลาคม 2553 วันนี้ วันแรก ของ งานปลาสวยงาม บรรยากาศ ก็คึกคัก พอสมควร มี ประชาชน ให้ความสนใจ พาบุตรหลาน มาเยี่ยมชม ปลาสายพันธ์ต่าง ๆ ในงานวันนี้ เนื่องจากวันนี้ เป็น วันเสาร์ ก็ จะมี กลุ่ม ครอบครัว มาเยอะพอสมควร โดย เฉพาะเด็ก อาจจะไม่เหมาะ กับ โซน ปลาหมอสี เท่าไหร่ เพราะ เด็ก และ ผู้ปกครอง หลายท่านไม่เข้าใจ พฤติกรรม ของ ปลาหมอสี พอเห็น ปลาหมอสี ก็ จะแหย่ และ หลอกล่อ ปลาหมอสี วันนี้ ช่วงที่ไปเก็บภาพ ก็ เจอ เหตุการณ์ ปลาหมอสี ชนตู้ นอนแผ่หรา อยู่ ก็สาเหตุ จากการ แหย่ปลา ครับ
ปลาหมอสี เลย วิ่งชนตู้ เป็นปลาได้ รับ รางวัล ซ่ะด้วย ไม่รู้จะโทษใคร ปลาหมอสี หรือ คน แต่ไม่เห็น ป้ายห้าม ว่า " ห้ามแหย่ปลา " นั่นคือ บรรยากาศ ของ งานที่เก็บมาเล่าให้ฟัง ใน งานปลาสวยงามแห่งชาติ ของ ปี 2553 มาดู ภาพปลาหมอสี สวย ๆ กันดีกว่า
 









ธุรกิจเลี้ยงปลาหมอสี ปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยง







เลี้ยงปลาหมอสี แบบธุรกิจ การ เลี้ยงปลาหมอสี ปลาสวยงาม ที่นิยมเลี้ยง กัน ณ ปัจจุบัน การเลือกซื้อ ปลาหมอสี ขายเสริมรายได้ ปลาหมอสี จัดเป็นปลาสวยงามที่คนไทยนิยมนำมาเลี้ยงมากที่สุดชนิดหนึ่ง นอกจากจะเป็นปลาที่มีความสวยงามแล้ว ในเรื่องของการเลี้ยงดูจัดเป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่เลี้ยงง่ายและเป็นปลา ที่มีความอดทนสูง กินอาหารง่ายปัจจุบัน ปลาหมอสี จัดเป็นปลาสวยงามที่คนไทยนิยมนำมาเลี้ยงมากที่สุดชนิดหนึ่ง ปลาหมอสี นอกจากจะเป็นปลาที่มีความสวยงามแล้ว ในเรื่องของการเลี้ยงดูจัดเป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่เลี้ยงง่ายและเป็นปลา ที่มีความอดทนสูง กินอาหารง่ายไม่ว่าจะเป็นอาหารสด ลูกกุ้ง ไรทะเล ไส้เดือน หรือที่สะดวกที่สุดคือ อาหารสำเร็จรูป จุดสำคัญของการเลี้ยงปลาหมอสีคือการถ่ายน้ำ อาทิตย์หนึ่งให้ถ่าย น้ำออก 10% เพื่อเปลี่ยนสภาพของน้ำให้ ดีขึ้นหรืออย่างน้อยที่สุดจะต้องมีการถ่ายน้ำเดือนละครั้ง นอกจากนั้นผู้เลี้ยงควรจะต้องรู้จักลักษณะนิสัยของปลาหมอสีซึ่งจัดเป็นปลาที่ค่อนข้างรักถิ่น หวงที่อยู่และมีความก้าวร้าว เมื่อมีปลาตัวอื่นหลงเข้าไปในถิ่นหรือพื้นที่ที่ปลาหมอสีได้สร้างอาณาจักร เอาไว้จะโดนไล่กัดทันที และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ไม่ควร เลี้ยงปลาหมอสีรวมกันหลายตัวภายในตู้เดียวกันคุณปกเกล้า วณิตย์ธนาคม คนเมืองชาละวัน จังหวัดพิจิตร เริ่มต้น เลี้ยงปลาหมอสี ด้วยความชอบส่วนตัว เริ่มจากเลี้ยงไว้ดูเล่น จนปัจจุบันสนใจเลี้ยงอย่างจริงจังสามารถ เพาะพันธุ์ปลาหมอสี ออกจำหน่ายได้ คุณปกเกล้า บอกว่า พ่อ-แม่พันธุ์ที่จะนำมาเพาะจะต้องมีอายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป แม่ปลาหมอสี 1 ตัวจะให้ลูกได้เฉลี่ย 500-1,000 ตัว และช่วงฤดูกาลเพาะจะทำในช่วงฤดูร้อนเท่านั้น เนื่องจากปลาหมอสีไม่ชอบสภาพอากาศเย็น (ฤดูหนาว จะไม่เพาะเลย เนื่องจากเปอร์เซ็นต์การ ติดน้อยมากหรือถ้าติดโอกาสจะรอดก็ยากมาก) ในช่วงฤดูฝนก็พอเพาะได้แต่จะต้องใช้ฮีทเตอร์ช่วย ในการเลือกซื้อปลาหมอสีมาเลี้ยงเริ่มจากพิจารณาที่ลูกตาของปลาจะต้องมีลูกตาใส ไม่เป็นสีขาวขุ่น มองหน้าตรงแล้วระดับของตาสองข้างควรจะเท่ากัน ส่วนของครีบบนคือส่วนของกระโดงบนควรมีระดับความสูงไล่ระดับจากต่ำไปหาสูง เมื่อดูจากส่วนหัวของปลานั้น กระโดงจะเริ่ม ที่บริเวณใกล้ ๆ กับลูกตา ของปลา ถ้าเป็นปลาหมอสีที่มีลักษณะที่ดีส่วนของหางควรจะกางแผ่ได้เต็มที่ ข้อหางไม่คด ส่วนของลำตัวโดยทั่วไปแล้ว คนไทยมักจะนิยมเลี้ยง ปลาหมอสี ที่มีลักษณะลำตัวสั้นและกว้างมากกว่าปลาที่มี ลักษณะลำตัวยาวและแคบ โหนกหรือหัวที่โหนกนูนของปลา ควรจะดูว่าโหนกของปลาที่จะซื้อมาเลี้ยงนั้นได้สมดุลซ้าย-ขวา หรือไม่ ลวดลายบนลำตัวปลาหมอสีนับเป็นลักษณะเด่นและสร้างความสวยงามให้ตัวปลามากที่ สุดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของปลาเป็นสำคัญ บางพื้นที่ปลา ที่มีลำตัวแดงอาจจะขายดีกว่าปลามุกที่มีเกล็ดเงาสรุปถึงวิธีการเลือกซื้อปลาหมอสีมาเลี้ยงในตู้เป็นปลาสวยงามนั้นให้ดูลักษณะ 3 ประการ คือ ดูทรง ดูสีและดูหัว เป็นปลา ที่มีทรงสั้น ลำตัวมีสีแดงสดและหัวใหญ่ขนาดลูกกอล์ฟหรือลูกส้มเช้งหรือส้มเขียวหวานที่มา : เดลินิวส์

อ้างอิงมาจาก http://flowerhorncrossbreedfish.blogspot.com/2010/10/blog-post_06.html